ปัจจัยที่ควรคำนึงในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงงาน

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา
ในยุคที่ต้นทุนพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงงานจึงเป็นทางเลือกน่าสนใจที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงงาน นอกจากนี้ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ยังเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของโรงงานในการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของโรงงานได้ ในวันนี้เราจึงได้รวบรวมเรื่องน่ารู้ที่จะทำให้องค์กรสนใจอยากเปลี่ยนมาติดตั้งโซลาร์เซลล์ มาฝากกันในบทความนี้

ประโยชน์ของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในโรงงาน

ช่วยลดค่าใช้จ่าย

แผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ ซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาด ที่มีราคาต่อหน่วยน้อยกว่าค่าไฟฟ้าทั่วไป การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในโรงงานจึงสามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ในระยะยาว

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและทางน้ำ ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งโดยรอบโรงงานและของส่วนรวมให้สะอาด น่าอยู่

ส่งเสริมภาพลักษณ์

การส่งเสริมภาพลักษณ์ไม่เพียงแต่จะทำให้ชื่อเสียงของโรงงานดูดีขึ้นได้จากความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงความยั่งยืนต่อส่วนรวมเท่านั้น แต่ภาพลักษณ์ที่ดียังสามารถเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของโรงงานได้อีกด้วย

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับโรงงาน

ความต้องการใช้ไฟฟ้า

ปัจจัยแรกที่ต้องพิจารณา คือปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าของโรงงาน ซึ่งสามารถวิเคราะห์และประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ว่าควรเป็นเท่าไร โดยการดูหน่วยค่าไฟที่ผ่านมา จากบิลค่าไฟและข้อมูลการใช้ไฟฟ้า (Load Profile) รวมถึงวางแพลนกำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในอนาคต เผื่อการขยับขยายโรงงาน เพื่อกำหนดขนาดกำลังการผลิตของโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมกับโรงงานที่สุด

ลักษณะของหลังคา

โรงงานที่สนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ควรตรวจสอบลักษณะของหลังคาว่าเหมาะสมกับการติดตั้งหรือไม่ โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยมากมาย เช่น
  • วัสดุของหลังคา ตรวจสอบให้ดีว่าหลังคามีความแข็งแรงและทนทานต่อน้ำหนักแผงโซลาร์เซลล์หรือไม่ เพื่อช่วยให้ระบบโซลาร์เซลล์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยไม่เกิดการสลาย หรือผุพังของหลังคาจนเกิดอันตราย
  • ทิศทางในการรับแดดของหลังคา ซึ่งทิศที่ดีที่สุดสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์คือ ทิศใต้ เนื่องจากได้รับแสงแดดได้โดยตรงตลอดทั้งวัน ทิศที่รองลงมาคือ ทิศตะวันตกและทิศตะวันออก
  • องศาความลาดเอียง โดยพิจารณาว่าอยู่ในตำแหน่งที่สามารถรับแสงแดดได้ดีหรือไม่ ซึ่งองศาความลาดเอียงที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์คือประมาณ 30-45 องศาเพราะสามารถรับแสงแดดได้มากที่สุด และควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งบนหลังคาที่มีองศาลาดเอียงน้อยกว่า 15 องศา

สภาพแวดล้อมของพื้นที่ติดตั้ง

นอกจากลักษณะหลังคาแล้ว สภาพแวดล้อมรอบด้านสถานที่ติดตั้ง ก็ส่งผลสำคัญต่อการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ของโซลาร์เซลล์เช่นกัน จึงควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมของพื้นที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสม โดยพิจารณาปัจจัย ดังต่อไปนี้
  • ปริมาณแสงแดดที่ได้รับในแต่ละวัน เนื่องจากปริมาณแสงแดดที่ได้รับในแต่ละวันจะมีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ เพราะยิ่งได้รับแสงแดดมากก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ได้สูงกว่าพื้นที่ที่มีปริมาณแสงแดดน้อย
  • ความเร็วลม เนื่องจากหากเป็นพื้นที่ที่ลมมีความเร็วและแรงมากเกินไปอาจทำให้แผงโซลาร์เซลล์เสียหายได้ มลพิษทางอากาศ เนื่องจา
  • มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละอองและไอเสียรถยนต์ อาจส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ ให้มีประสิทธิภาพลดลงได้
สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

การบำรุงรักษา

ระบบโซลาร์เซลล์ต้องมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่ติดตั้งแล้วจะปล่อยทิ้งไว้ได้เลย เพราะการบำรุงรักษาเป็นประจำจะทำให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โรงงานจึงควรศึกษาแนวทางการบำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจดำเนินการติดตั้ง

อุปกรณ์ติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีอะไรบ้าง

แผงโซลาร์เซลล์ หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์

แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel) เป็นอุปกรณ์หลักของระบบโซลาร์เซลล์ ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง

อินเวอร์เตอร์ หรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า

ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับที่สามารถจ่ายไฟเข้าไปในโรงงานและนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป เพื่อดำเนินกิจการในโรงงาน

สายไฟ

สายไฟเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบโซลาร์เซลล์เข้าด้วยกัน โดยมีสายทั้งสายไฟโซลาร์เซลล์กระแสสลับ AC Cable และสายไฟกระแสตรง DC Cable ที่ใช้สำหรับโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ ซึ่งควรมีความทนทานต่อสภาพอากาศและแรงดันไฟฟ้าสูง เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ชุดเบรกเกอร์

ชุคเบรกเกอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับตัดวงจรไฟฟ้าในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือการใช้งานเกินพิกัด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและทรัพย์สิน รวมถึงปกป้องบุคคลจากอันตรายของไฟฟ้า
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ เพิ่มเติม ตามชนิดของการติดตั้ง เช่น หากติดตั้งโซลาร์เซลล์ On Grid แบบมีแบตเตอรี่ ก็ต้องมีอุปกรณ์แบตเตอรี่เพื่อทำหน้าที่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า รวมถึงต้องมีคอนโทรลเลอร์ชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการชาร์จแบตเตอรี่อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มีสิ่งที่ต้องรู้และต้องใช้อุปกรณ์จำนวนมากในการติดตั้ง ซึ่งอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของผู้เชี่ยวชาญที่ต้องคอยมาดูแล ขอแนะนำ! GreenYellow บริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ที่ให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ครบวงจร ตั้งแต่การลงทุน จนถึงขั้นตอนในการคิด ออกแบบ และติดตั้งให้เหมาะสมกับโรงงาน พร้อมการดูแลรักษาฟรีตลอดระยะเวลาสัญญา โดยที่คุณไม่ต้องลงทุนใด ๆ แต่ได้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และลดค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟได้ในระยะยาว หากสนใจสามารถติดต่อเพื่อรับคำปรึกษา หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-079- 8081 หรืออีเมล greenyellow@greenyellow.com

จากความสนใจของคุณ คุณอาจจะสนใจบทความเหล่านี้