fbpx

คาร์บอนฟุตพรินต์ : ความสำคัญและวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงาน (คาร์บอนฟุตพรินต์)

ปัจจุบัน “คาร์บอนฟุตพรินต์” (Carbon Footprint) เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่องค์กรและธุรกิจทั่วโลกใช้ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากรายงานของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 243.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ซึ่ง 71% มาจากภาคพลังงานและการขนส่ง ดังนั้น การเข้าใจความหมาย ประเภท วิธีการคำนวณ และแนวทางการลดคาร์บอนฟุตพรินต์อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้องค์กรของคุณลดการสร้างคาร์บอนฟุตพรินต์ได้อย่างเหมาะสม

คาร์บอนฟุตพรินต์คืออะไร ?

คาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG – Greenhouse Gases)* ที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคล องค์กร หรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและลดผลกระทบต่อระบบนิเวศโลก

ผู้ประกอบการบางคนอาจจะมองว่าเรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์มีความสำคัญในการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ยังมีความสำคัญต่อองค์กรในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะในแง่ของการประหยัดทรัพยากรและต้นทุนในระยะยาว รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้บริโภค

นอกจากนี้ การที่ทั่วโลกกำลังเอาจริงเอาจังในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม จนมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์ รวมถึงการได้รับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ยังช่วยเพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด

มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันมีมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ สำหรับประเมินปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้

  • ISO 14064 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเพื่อจัดการคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสามารถทวนสอบผลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
  • ISO 14067 เป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นการคำนวณและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) เป็นหน่วยการวัดหลักในการประเมินผลกระทบจากการผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดของผลิตภัณฑ์ มาตรฐานนี้ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถระบุและลดผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต

*GHG หรือ ก๊าซเรือนกระจก มี 7 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรต์ (SF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรต์ (NF3)

คาร์บอนฟุตพรินต์ มีกี่ประเภท ?

คาร์บอนฟุตพรินต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1. Carbon Footprint ขององค์กร (Corporate Carbon Footprint)

การวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมทั้งหมดขององค์กร ครอบคลุมถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าในสำนักงานหรือโรงงาน การขนส่งสินค้าและพนักงาน รวมถึงกระบวนการผลิตที่ต้องใช้พลังงานสูง
ข้อมูลนี้ช่วยให้องค์กรสามารถวางแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน รายงานต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และปฏิบัติตามกฎหมายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ (Product Carbon Footprint)

การวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน ไปจนถึงการกำจัดหรือรีไซเคิล

ข้อมูลนี้ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสื่อสารข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมแก่ผู้บริโภคได้อย่างโปร่งใส

วิธีคำนวณ Carbon Footprint

การคำนวณ Carbon Footprint เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ

หลักการพื้นฐานในการคำนวณ

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 กิโลกรัม เท่ากับ Carbon Footprint 1 กิโลกรัม โดยการคำนวณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจะถูกคิดในหน่วยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) เช่น

  • ก๊าซมีเทน (CH4) มีค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 28 เท่า
  • ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 265 เท่า

ดังนั้น หากปล่อยก๊าซมีเทน 1 กิโลกรัม จะหมายถึงการปล่อย Carbon Footprint เท่ากับ 28 KgCO2e (กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) และหากปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ 1 กิโลกรัม จะเท่ากับ 265 KgCO2e

ขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การวัดคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรจะพิจารณาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขอบเขต (Scope) เพื่อให้เห็นภาพรวมการปล่อยก๊าซได้อย่างชัดเจน ได้แก่

  • Scope 1 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง จากกิจกรรมที่องค์กรเป็นเจ้าของหรือควบคุม เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงในหม้อไอน้ำ ยานพาหนะที่องค์กรเป็นเจ้าของ หรือการรั่วไหลของสารทำความเย็น
  • Scope 2 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน เช่น การซื้อไฟฟ้า ความร้อน หรือไอน้ำจากภายนอก
  • Scope 3 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เช่น การเดินทางเพื่อธุรกิจ การขนส่งวัตถุดิบและสินค้า การใช้ผลิตภัณฑ์โดยลูกค้า และการกำจัดของเสีย

สูตรการคำนวณ Carbon Footprint

เมื่อข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละขอบเขตถูกเก็บรวบรวมแล้ว จะสามารถนำมาคำนวณหาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในหน่วย KgCO2e (กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ได้ โดยใช้สมการดังนี้

GHG emissions = Activity data + Emission factor

  • Activity data = ข้อมูลกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งอาจมาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น
    • การใช้ไฟฟ้า (kWh)
    • น้ำหนักของของเสีย (Kg หรือ Ton)
    • ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในยานพาหนะ (Liters)
    • ระยะทางในการเดินทางโดยเครื่องบิน (Km)
  • Emission factor = ค่าคงที่ที่ใช้เปลี่ยน Activity data เป็นค่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (เช่น ค่าการปล่อย CO2e ต่อ kWh ของไฟฟ้าที่ใช้)

ตัวอย่างการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ถ้าองค์กรใช้ไฟฟ้า 1,300 kWh และค่า Emission factor ของการใช้ไฟฟ้าคือ 0.6933 kgCO2e/kWh จะใช้สูตรดังนี้

GHG emissions = 1,300 kWh x 0.6933 kgCO2e/kWh = 901.3 kgCO2e
ดังนั้น การใช้ไฟฟ้า 1,300 kWh จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก 901.3 kgCO2e.

แนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณ Carbon Footprint

เมื่อรู้สูตรและเข้าใจหลักการคำนวณแล้ว เรามีเครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ช่วยให้การทำงานสะดวก ง่าย และไวกว่าเดิมมาฝากกัน 
  • Net Zero Man เป็นเครื่องมือคำนวณ Carbon Footprint ที่ช่วยให้ทราบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมแนะนำแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดคาร์บอนฟุตพรินต์อย่างมีประสิทธิภาพ

5 วิธีลดคาร์บอนฟุตพรินต์แบบยั่งยืน

การลดคาร์บอนฟุตพรินต์เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับองค์กรในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ โดยมีวิธีการต่าง ๆ ที่น่าสนใจและได้ผลจริง เช่น

  • การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยการเลือกใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น ระบบ Building Management System (BMS) เพื่อลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น
  • การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ เช่น โซลาร์รูฟท็อป หรือโซลาร์ลอยน้ำ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • การปรับปรุงกระบวนการผลิต เช่น การลดของเสียจากกระบวนการผลิตโดยใช้เทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพและลดการใช้วัสดุ
  • การนำเทคโนโลยีสีเขียว มาใช้ในการผลิตและการดำเนินธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยี IoT และ AI เพื่อจัดการพลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ หรือนำระบบจัดการขยะและรีไซเคิลมาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากของเสีย

ประโยชน์ของการลดคาร์บอนฟุตพรินต์

การลดคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint) ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมถึงประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ด้านการประหยัดต้นทุน

ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานโดยใช้พลังงานสะอาด เช่น โซลาร์เซลล์ ลดภาษีคาร์บอน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

ด้านการตลาดและการแข่งขัน

ช่วยให้ธุรกิจได้เปรียบในตลาด เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และมีโอกาสได้รับฉลากสิ่งแวดล้อม เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์

ด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐาน

ลดความเสี่ยงจากกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม รองรับมาตรฐาน ESG (Environmental, Social, and Governance) และช่วยให้ธุรกิจได้รับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ

ด้านภาพลักษณ์องค์กร

ช่วยสร้างภาพลักษณ์องค์กรสีเขียว เพิ่มความน่าเชื่อถือ และดึงดูดนักลงทุน รวมถึงพนักงานที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน

บทบาทของโซลาร์เซลล์ในการลด Carbon Footprint

การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่ม Carbon Footprint แต่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผ่านโซลาร์เซลล์เป็นทางเลือกพลังงานสะอาดที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีบทบาทสำคัญดังต่อไปนี้

หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์

แผงโซลาร์เซลล์แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ผ่านกระบวนการ Photovoltaic Effect โดยใช้อินเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) สำหรับใช้งาน

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โซลาร์เซลล์ เป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ช่วยลด Carbon Footprint ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถผลิตไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) และก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ

เริ่มต้นลดคาร์บอนฟุตพรินต์ด้วยบริการติดตั้งโซลาร์เซลล์โรงงาน

การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ในองค์กรของคุณ ไม่เพียงแต่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินต์ แต่ยังเป็นการลงทุนที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว สำหรับคนที่มองหาบริการรับติดตั้งโซลาร์เซลล์โรงงาน โดยไม่ต้องลงทุนและดูแลเอง GreenYellow พร้อมเป็นพันธมิตรในการสำรวจ ออกแบบ ขออนุญาต ติดตั้ง และดูแลระบบโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณผ่านบริการ Solar PPA เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดคาร์บอนฟุตพรินต์และสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

เบอร์โทรศัพท์ 02-079-8081
LINE ID: @greenyellowth
อีเมล gr*********@*********ow.com

ข้อมูลอ้างอิง:

1.Carbon Footprint ตอนที่ 3. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2568 จาก https://setsustainability.com/libraries/1247/item/carbon-footprint-3
2.Carbon Footprint คืออะไร ? จะก้าวสู่การเป็นธุรกิจในยุคสังคมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืนต้องทำอย่างไร ?. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2568 จาก https://techsauce.co/news/carbon-footprint-to-climate-change
3.เครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในชีวิตประจำวัน “Net Zero Man”. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2568 จาก https://hub.mnre.go.th/th/knowledge/detail/65662

ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึงหลักล้านง่ายๆ เพียงติดต่อเราวันนี้ ติดต่อเรา

บทความโดย

แชร์บทความนี้
Facebook
Twitter
LinkedIn
X
Pinterest
WhatsApp

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

นักธุรกิจถือไอคอนจำลองคาร์บอนเครดิต

คาร์บอนเครดิต กุญแจสำคัญสู่ธุรกิจพลังงานสะอาดด้วยโซลาร์เซลล์

ท่ามกลางความตื่นตัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรและธุรกิจทั่วโลก ซึ่ง “คาร์บอนเครดิต” เป็นหนึ่งในกลไกที่น่าสนใจเพื่อขับเคลื่อนพลวัตทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้าใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผนวกเข้ากับการติดตั้ง “โซลาร์เซลล์” แหล่งพลังงานสะอาดที่พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างยั่งยืน เข้าใจคาร์บอนเครดิตและโอกาสทางธุรกิจ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ หน่วยวัดการลดหรือการหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอนฟุตพรินต์) ในแต่ละปี โดย 1 คาร์บอนเครดิต เท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน (tCO2e) ซึ่งสามารถทำได้จากหลายมาตรการ เช่น

อ่านเพิ่มเติม
Climate Tech เทคโนโลยีด้านภูมิอากาศ สู่การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

รับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ด้วย Climate Tech

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในความท้าทายที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อเศรษฐกิจ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก ปัจจุบันจึงมีแนวคิดและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อปัญหานี้ โดย Climate Tech กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง Climate Tech สร้างโอกาสในการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม Climate Tech หรือ Climate Technology คือเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาพลังงานสะอาด สู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน นับเป็นส่วนสำคัญของการแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อม

อ่านเพิ่มเติม
ฝุ่นบนแผงโซลาร์เซลล์ที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตพลังงาน

ฝุ่นเกาะบนแผงโซลาร์เซลล์ส่งผลอะไร ป้องกันอย่างไรดี ?

‘พลังงานแสงอาทิตย์’ เป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการใช้พลังงานสะอาด แต่ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์สามารถลดลงได้หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้า คือฝุ่นละอองที่เกาะอยู่บนแผงโซลาร์ โดยเฉพาะฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงผลกระทบของฝุ่นบนแผงโซลาร์เซลล์ ตลอดจนวิธีการดูแลให้เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญ ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อโซลาร์เซลล์อย่างไร ? 1. ลดปริมาณแสงที่เข้าสู่แผงโซลาร์เซลล์ ฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถลอยอยู่ในอากาศและสะสมบนพื้นผิวของแผงโซลาร์เซลล์ ก่อให้เกิดเป็นชั้นฝุ่นบาง

อ่านเพิ่มเติม

Free consultation