fbpx

ภาษีคาร์บอน คืออะไร ? ธุรกิจต้องรับมืออย่างไรในปี 2025

การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดจึงไม่ใช่เพียงทางเลือก แต่คือความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับธุรกิจที่ต้องการความได้เปรียบในการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืน
ภาษีคาร์บอน คืออะไร ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศกำลังผลักดันให้ประเทศไทยเร่งดำเนินมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการเตรียมจัดเก็บ “ภาษีคาร์บอน” ที่จะเริ่มบังคับใช้ในปี 2025 นี้* ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวและมองหาทางรอดจากต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดจึงไม่ใช่เพียงทางเลือก แต่คือความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับธุรกิจที่ต้องการความได้เปรียบในการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืน
*ข้อมูลอ้างอิง : ครม.ไฟเขียว เก็บภาษีคาร์บอน หนุนลดก๊าซเรือนกระจก

รู้จักนโยบายภาษีคาร์บอน

ความเป็นมาของนโยบายภาษีคาร์บอน

ภาษีคาร์บอน คือ มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ที่หลายประเทศทั่วโลกนำมาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากกิจกรรมหรืออุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ สู่ชั้นบรรยากาศ เป้าหมายหลักของภาษีนี้ คือการกระตุ้นให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมตระหนักถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น

รูปแบบและอัตราการจัดเก็บ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับการลดก๊าซเรือนกระจก โดยภาครัฐมีแผนเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนในประเทศไทยภายในปี 2025 ซึ่งจะเริ่มจากการจัดเก็บภาษีในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์น้ำมัน ก่อนจะขยายไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในอนาคต โดยเบื้องต้นจะมีการกำหนดราคาคาร์บอนที่ 200 บาท/คาร์บอนเทียบเท่า**

นโยบายนี้ถือเป็นสัญญาณสำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวไปสู่พลังงานสะอาด และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว
**คาร์บอนเทียบเท่า คือ หน่วยของก๊าซเรือนกระจก

ผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทย ที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมือ

การเก็บภาษีคาร์บอนในประเทศไทย ส่งผลโดยตรงต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เพราะนอกจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแล้ว ธุรกิจยังอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านการแข่งขัน และข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น

กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง

ธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก จะต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นจากการเสียภาษีคาร์บอน โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหลัก ได้แก่

  • อุตสาหกรรมพลังงานและไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ จะเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และอาจต้องลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน

  • อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากปิโตรเลียมและมีกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูง จำเป็นต้องพิจารณาการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

  • อุตสาหกรรมเหล็กและซีเมนต์

การผลิตเหล็กและปูนซีเมนต์ปล่อยคาร์บอนในปริมาณมากจากกระบวนการเผาไหม้ กลุ่มอุตสาหกรรมนี้จึงจำเป็นต้องเริ่มปรับตัว เพื่อลดผลกระทบจากต้นทุนภาษี

  • อุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกส์

อุตสาหกรรมการขนส่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสูง หากรัฐบาลเริ่มบังคับเก็บภาษี กลุ่มธุรกิจเหล่านี้จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนการดำเนินงาน

การจัดเก็บภาษีคาร์บอนจะเพิ่มต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่พึ่งพาพลังงานฟอสซิล ซึ่งหากไม่มีการวางแผนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน อาจส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการต้องปรับตัวสูงขึ้น

ความเสี่ยงและความท้าทายทางธุรกิจ

หากธุรกิจไม่ปรับตัวให้เข้ากับมาตรการภาษีคาร์บอน อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านการแข่งขันและความท้าทายทางธุรกิจ โดยมีหลายประเทศที่กำลังออกมาตรการกีดกันสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น มาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการเรียกเก็บค่าภาษีคาร์บอนก่อนที่จะปล่อยสินค้าข้ามพรมแดน

โอกาสในการปรับตัวและพัฒนา

แม้ว่าภาษีคาร์บอนจะเป็นภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ธุรกิจสามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้ ด้วยการปรับตัวอย่างเหมาะสม เช่น การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด การพัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือการเข้าร่วมโครงการพลังงานสะอาดและการซื้อคาร์บอนเครดิต เพื่อช่วยลดภาระภาษีและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

กลยุทธ์การรับมือภาษีคาร์บอนอย่างยั่งยืน

การวางแผนปรับเปลี่ยนระบบพลังงานโดยอาศัยโซลูชันที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ

การลดภาระภาษีคาร์บอน ต้องเริ่มจากการประเมินและวางแผนปรับเปลี่ยนแหล่งพลังงานของธุรกิจ โดยเลือกใช้พลังงานสะอาดที่เหมาะสมกับรูปแบบการทำธุรกิจ เช่น การติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือระบบพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ เพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน และการเลือกใช้โซลูชันการจัดการพลังงานอัจฉริยะ ก็เป็นทางเลือกที่ช่วยให้ธุรกิจใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การบริหารจัดการต้นทุนและความเสี่ยง

ภาษีคาร์บอนจะส่งผลต่อโครงสร้างต้นทุนของธุรกิจ ดังนั้น การบริหารต้นทุนและความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องสำคัญ ธุรกิจควรลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลซึ่งมีราคาผันผวนสูง และหันมาลงทุนในพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ธุรกิจสามารถควบคุมต้นทุนระยะยาวได้

การสร้างภาพลักษณ์องค์กรสีเขียว

การปรับตัวสู่พลังงานสะอาดไม่ได้เป็นเพียงกลยุทธ์ลดต้นทุน แต่ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพราะการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร และตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น นอกจากนี้ นักลงทุนและพันธมิตรทางธุรกิจจำนวนมากต่างก็เริ่มให้ความสำคัญกับ ESG (Environmental, Social, and Governance) ซึ่งธุรกิจที่มีแนวทางในการลดคาร์บอนอย่างชัดเจน จะได้รับความสนใจจากตลาดทุนมากขึ้น

กล่าวได้ว่า การรับมือกับภาษีคาร์บอน คือโอกาสที่ธุรกิจจะได้ปรับตัวสู่การใช้พลังงานสะอาด ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว โดยการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและการใช้โซลูชันด้านการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวข้ามทุกความท้าทายได้อย่างมั่นคง

แนวทางการรับมือกับภาษีคาร์บอน

พลังงานสะอาด : ทางรอดของธุรกิจยุคคาร์บอนต่ำ

ทำไมพลังงานสะอาดคือคำตอบ ?

พลังงานสะอาด เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบจากภาษีคาร์บอน และช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาพลังงานฟอสซิล ทำให้ต้นทุนดำเนินงานมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในทางเลือกพลังงานสะอาดที่ธุรกิจสามารถนำมาใช้ได้ทันที ก็คือ “การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์”

ประโยชน์ของการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ช่วยลดค่าไฟฟ้าในระยะยาว เพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน และลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าใช้เองยังช่วยให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นในการจัดการต้นทุนพลังงาน และลดความเสี่ยงจากอัตราค่าไฟที่เพิ่มขึ้นทุกปี

  • การลดต้นทุนด้านพลังงานในระยะยาว

การลงทุนติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์จะช่วยให้ธุรกิจสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานสูง เช่น อุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

  • สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ

การเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดด้วยการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจในระดับสากล โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม เพราะในอนาคตอันใกล้ กฎระเบียบด้านคาร์บอนฟุตพรินต์มีแนวโน้มที่จะบังคับใช้อย่างเข้มงวดขึ้น ดังนั้น การใช้ระบบโซลาร์เซลล์ตั้งแต่ตอนนี้ จึงเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้ก่อนใคร

ใบรับรอง I-REC : เครื่องมือสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ

นอกจากการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แล้ว อีกหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถแสดงความมุ่งมั่นต่อการใช้พลังงานหมุนเวียน และได้รับการรับรองว่าใช้พลังงานจากแหล่งที่ยั่งยืน คือ การมีใบรับรอง I-REC (International Renewable Energy Certificate) 

I-REC คืออะไร ?

I-REC (International Renewable Energy Certificate) คือ ใบรับรองการใช้พลังงานหมุนเวียน ที่ออกให้แก่ธุรกิจที่ใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำ โดยใบรับรองนี้เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และสามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าองค์กรใช้พลังงานจากแหล่งที่ยั่งยืน

ประโยชน์ของ I-REC ต่อธุรกิจ

การมีใบรับรอง I-REC นอกจากจะช่วยให้ธุรกิจสามารถแสดงความโปร่งใสในการใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว ยังมีข้อดีที่สำคัญหลายประการ ได้แก่

  • เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรสีเขียว

ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและดึงดูดลูกค้า นักลงทุน และพันธมิตรทางธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับ ESG (Environmental, Social, and Governance)

  • ลดความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ

ธุรกิจที่มี I-REC จะสามารถปรับตัวเข้ากับมาตรการที่ว่าด้วยการใช้พลังงานสะอาดในห่วงโซ่อุปทานได้ง่ายขึ้น

  • เป็นเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการคาร์บอนฟุตพรินต์

ธุรกิจสามารถนำใบรับรอง I-REC มาใช้ประกอบรายงานความยั่งยืน หรือ Carbon Footprint Report เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

  • โอกาสในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ในอนาคต เมื่อรัฐบาลเริ่มเรียกเก็บภาษีคาร์บอนในประเทศไทยอย่างจริงจัง ธุรกิจที่มีใบรับรอง I-REC อาจมีแนวโน้มที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

การใช้ I-REC เพื่อลดภาระภาษีคาร์บอน

กระบวนการขอใบรับรอง I-REC
ธุรกิจที่ต้องการได้รับใบรับรอง I-REC ต้องดำเนินการผ่านองค์กรที่ได้รับการรับรองในระดับสากล โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

  1. ตรวจสอบแหล่งพลังงาน : ธุรกิจต้องใช้พลังงานหมุนเวียนจากแหล่งที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน I-REC
  2. ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการ I-REC : ยื่นขอใบรับรองผ่านแพลตฟอร์มที่ได้รับอนุมัติ
  3. รับรองและออกใบรับรอง : ระบบจะออกใบรับรองในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานในการรายงานและบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

เริ่มต้นเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงกับ GreenYellow

GreenYellow พร้อมดูแลธุรกิจคุณให้พร้อมต่อการเก็บภาษีคาร์บอนในทุกกระบวนการ ตั้งแต่

วิเคราะห์และวางแผนอย่างมืออาชีพ

ประเมินผลกระทบของภาษีคาร์บอนต่อธุรกิจ วิเคราะห์โอกาสในการลดต้นทุนผ่านพลังงานสะอาด และจัดทำแผนการปรับตัวที่เหมาะสมกับองค์กร

ดำเนินการครบวงจร

ออกแบบระบบโซลาร์เซลล์และโซลูชันประหยัดพลังงานที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจคุณ ลงทุนในการติดตั้งพร้อมกับอุปกรณ์ต่างๆโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรฐานสากล พร้อมบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบติดตามและวิเคราะห์ผลการใช้พลังงานแบบเรียลไทม์

สนับสนุนต่อเนื่องระยะยาว

สนับสนุนการขอใบรับรอง I-REC และพร้อมให้คำปรึกษาด้านการจัดการพลังงานและการลดคาร์บอนให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายใหม่

ในขณะที่พลังงานสิ้นเปลืองยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก แต่ข้อจำกัดด้านปริมาณสำรองและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่เริ่มมีการวางแผนเก็บภาษีคาร์บอนในอนาคตอันใกล้ หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาการใช้งานพลังงานทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ สามารถปรึกษา GreenYellow ได้เลย เราคือบริษัทที่ให้บริการด้านโซลาร์เซลล์และและการจัดการพลังงานอย่างครบวงจรซึ่งได้รับการยอมรับในระดับโลก โดย GreenYellow เป็นผู้ลงทุนในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ทั้งหมด ทั้งสำรวจ ออกแบบ ติดตั้ง ขออนุญาต พร้อมดูแลบำรุงรักษา และตรวจสอบการทำงานของระบบอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าระบบโซลาร์เซลล์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ อีกทั้งยังช่วยเหลือลูกค้าของเราในการเป็นเจ้าของใบรับรอง I-REC อย่างถูกต้อง เพื่อให้ธุรกิจคุณเติบโตได้อย่างมั่นคง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิง:

1.ครม.ไฟเขียว เก็บภาษีคาร์บอน หนุนลดก๊าซเรือนกระจก. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2568 จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/92842
2.ภาษีคาร์บอน กลไกลดโลกร้อน. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2568 จาก https://hub.mnre.go.th/th/knowledge/detail/63594

ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึงหลักล้านง่ายๆ เพียงติดต่อเราวันนี้ ติดต่อเรา

บทความโดย

แชร์บทความนี้
Facebook
Twitter
LinkedIn
X
Pinterest
WhatsApp

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

นักธุรกิจถือไอคอนจำลองคาร์บอนเครดิต

คาร์บอนเครดิต กุญแจสำคัญสู่ธุรกิจพลังงานสะอาดด้วยโซลาร์เซลล์

ท่ามกลางความตื่นตัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรและธุรกิจทั่วโลก ซึ่ง “คาร์บอนเครดิต” เป็นหนึ่งในกลไกที่น่าสนใจเพื่อขับเคลื่อนพลวัตทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้าใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผนวกเข้ากับการติดตั้ง “โซลาร์เซลล์” แหล่งพลังงานสะอาดที่พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างยั่งยืน เข้าใจคาร์บอนเครดิตและโอกาสทางธุรกิจ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ หน่วยวัดการลดหรือการหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอนฟุตพรินต์) ในแต่ละปี โดย 1 คาร์บอนเครดิต เท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน (tCO2e) ซึ่งสามารถทำได้จากหลายมาตรการ เช่น

อ่านเพิ่มเติม
Climate Tech เทคโนโลยีด้านภูมิอากาศ สู่การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

รับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ด้วย Climate Tech

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในความท้าทายที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อเศรษฐกิจ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก ปัจจุบันจึงมีแนวคิดและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อปัญหานี้ โดย Climate Tech กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง Climate Tech สร้างโอกาสในการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม Climate Tech หรือ Climate Technology คือเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาพลังงานสะอาด สู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน นับเป็นส่วนสำคัญของการแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อม

อ่านเพิ่มเติม
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงาน (คาร์บอนฟุตพรินต์)

คาร์บอนฟุตพรินต์ : ความสำคัญและวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบัน “คาร์บอนฟุตพรินต์” (Carbon Footprint) เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่องค์กรและธุรกิจทั่วโลกใช้ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากรายงานของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 243.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ซึ่ง 71% มาจากภาคพลังงานและการขนส่ง ดังนั้น การเข้าใจความหมาย ประเภท วิธีการคำนวณ และแนวทางการลดคาร์บอนฟุตพรินต์อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้องค์กรของคุณลดการสร้างคาร์บอนฟุตพรินต์ได้อย่างเหมาะสม คาร์บอนฟุตพรินต์คืออะไร ? คาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon

อ่านเพิ่มเติม

Free consultation