fbpx

ฝุ่นเกาะบนแผงโซลาร์เซลล์ส่งผลอะไร ป้องกันอย่างไรดี ?

ฝุ่นบนแผงโซลาร์เซลล์ที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตพลังงาน

‘พลังงานแสงอาทิตย์’ เป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการใช้พลังงานสะอาด แต่ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์สามารถลดลงได้หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้า คือฝุ่นละอองที่เกาะอยู่บนแผงโซลาร์ โดยเฉพาะฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงผลกระทบของฝุ่นบนแผงโซลาร์เซลล์ ตลอดจนวิธีการดูแลให้เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อโซลาร์เซลล์อย่างไร ?

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ในระยะยาว

1. ลดปริมาณแสงที่เข้าสู่แผงโซลาร์เซลล์

ฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถลอยอยู่ในอากาศและสะสมบนพื้นผิวของแผงโซลาร์เซลล์ ก่อให้เกิดเป็นชั้นฝุ่นบาง ๆ ที่บดบังแสงอาทิตย์ที่จะเข้าสู่แผงโดยตรง ซึ่งจะส่งผลให้แผงโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานได้น้อยลง ยิ่งฝุ่นสะสมหนาแน่นมากเท่าใด ประสิทธิภาพของแผงก็จะยิ่งลดลง ทำให้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

2. เพิ่มอุณหภูมิแผงโซลาร์ (Hot Spot Effect)

ฝุ่นเกาะบนแผงโซลาร์ไม่เพียงแต่ลดปริมาณแสงที่เข้าสู่แผงเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิด “จุดร้อน” (Hot Spot Effect) หรือภาวะที่บางส่วนของแผงจะร้อนกว่าส่วนอื่น ทำให้พลังงานที่ควรถูกผลิตเป็นไฟฟ้ากลับถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนแทน ซึ่งความร้อนที่สะสมนี้สามารถเร่งการเสื่อมสภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ ทำให้แผงโซลาร์เซลล์เสียหายก่อนเวลาอันควร

3. ทำให้การไหลของน้ำฝนผิดปกติ

โดยปกติแล้ว น้ำฝนจะช่วยชะล้างทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ได้ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีขนาดเล็กสามารถจับตัวกันเป็นชั้นหนาแน่นบนแผง ทำให้น้ำฝนไม่สามารถชะล้างแผงได้อย่างทั่วถึง จนเกิดคราบสกปรกตกค้างบนแผง ซึ่งอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานลดลง

4. เกาะติดแน่นและล้างออกยาก

เนื่องจาก PM 2.5 มีขนาดเล็กและมีคุณสมบัติเกาะติดกับพื้นผิวสูง การล้างด้วยน้ำฝนอาจไม่เพียงพอ ต้องใช้วิธีทำความสะอาดที่เหมาะสม

5. ทำปฏิกิริยากับความชื้นและสารเคมีในอากาศ

ฝุ่นละออง PM 2.5 สามารถทำปฏิกิริยากับไอน้ำและมลพิษในอากาศ ทำให้เกิดสารตกค้างที่เป็นกรด ซึ่งส่งผลให้พื้นผิวของแผงโซลาร์เซลล์ถูกกัดกร่อน หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจทำให้แผงเสื่อมสภาพเร็วขึ้นและต้องเปลี่ยนแผงเร็วกว่ากำหนด

วิธีทำความสะอาดและดูแลแผงโซลาร์เซลล์จากฝุ่น

แม้ว่าฝุ่นเกาะบนแผงโซลาร์จะเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สามารถป้องกันและลดผลกระทบต่อแผงโซลาร์เซลล์ได้ด้วยวิธีทำความสะอาดที่ถูกต้องและการดูแลที่เหมาะสม เพื่อให้แผงโซลาร์ผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น

1. กำหนดความถี่ในการทำความสะอาด

การกำหนดช่วงเวลาทำความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ เพราะพื้นที่แต่ละแห่งมีปริมาณฝุ่นละอองแตกต่างกัน ควรพิจารณาจากระดับฝุ่นละอองในพื้นที่ติดตั้งและปรับรอบการดูแลให้เหมาะสม
  • ในพื้นที่ที่มีฝุ่นมาก เช่น ในเมือง หรือใกล้แหล่งอุตสาหกรรม ควรทำความสะอาดทุก 1-2 เดือน
  • ในพื้นที่ชนบทที่มีฝุ่นน้อย สามารถทำความสะอาดทุก 3-6 เดือน
  • หากมีฝุ่น PM 2.5 ปริมาณสูง อาจต้องเพิ่มความถี่ในการดูแล

2. ใช้วิธีการทำความสะอาดที่เหมาะสม

การทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์จำเป็นต้องใช้วิธีที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายกับพื้นผิวแผง ควรปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
  • ใช้น้ำสะอาดฉีดล้าง

เนื่องจากน้ำเป็นตัวช่วยสำคัญในการล้างฝุ่นที่เกาะติดบนแผง ควรใช้น้ำแรงดันต่ำ หรือปานกลาง โดยอย่าให้แรงเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้กระจกของแผงเสียหาย หรือรอยต่อของแผงเกิดการรั่วซึม

  • ใช้แปรงขนนุ่ม หรือผ้านุ่มเช็ด

ห้ามใช้แปรงแข็ง หรือวัสดุที่อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผง เพราะอาจลดประสิทธิภาพของแผงในระยะยาว หากมีฝุ่นหรือคราบติดแน่น สามารถใช้น้ำผสมสบู่อ่อน ๆ แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดเบา ๆ เพื่อลดคราบสกปรก

  • ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ในตอนที่แดดยังไม่แรงมาก

หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดขณะที่แผงร้อนจัด เนื่องจากความร้อนสูงอาจทำให้แผงแตกร้าวจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการทำความสะอาด คือช่วงเช้าหรือช่วงเย็น

การสะสมของฝุ่นบนแผงโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตพลังงานลดลง ดังนั้น การทำความสะอาดแผงอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ จะช่วยให้แผงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนด้านพลังงานในระยะยาว ซึ่งการจะใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องอาศัยการดูแลและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ โดย GreenYellow ให้บริการหลังคาโซลาร์เซลล์สำหรับโรงงาน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล อย่างครบวงจร ผ่านโซลูชัน Solar PPA ตั้งแต่การลงทุน สำรวจ ออกแบบ ติดตั้ง การขออนุญาต ตลอดจนการดูแลรักษาแผงโซลาร์เซลล์ฟรีตลอดระยะเวลาสัญญา จึงมั่นใจได้ในประสิทธิภาพพลังงานสะอาดเพื่อกิจการของคุณ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ข้อมูลอ้างอิง:

1.ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2568 จาก https://erdi.cmu.ac.th/?p=1926

ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึงหลักล้านง่ายๆ เพียงติดต่อเราวันนี้ Contact Us

บทความโดย

แชร์บทความนี้
Facebook
Twitter
LinkedIn
X
Pinterest
WhatsApp

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

นักธุรกิจถือไอคอนจำลองคาร์บอนเครดิต

คาร์บอนเครดิต กุญแจสำคัญสู่ธุรกิจพลังงานสะอาดด้วยโซลาร์เซลล์

ท่ามกลางความตื่นตัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรและธุรกิจทั่วโลก ซึ่ง “คาร์บอนเครดิต” เป็นหนึ่งในกลไกที่น่าสนใจเพื่อขับเคลื่อนพลวัตทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้าใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผนวกเข้ากับการติดตั้ง “โซลาร์เซลล์” แหล่งพลังงานสะอาดที่พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างยั่งยืน เข้าใจคาร์บอนเครดิตและโอกาสทางธุรกิจ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ หน่วยวัดการลดหรือการหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอนฟุตพรินต์) ในแต่ละปี โดย 1 คาร์บอนเครดิต เท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน (tCO2e) ซึ่งสามารถทำได้จากหลายมาตรการ เช่น

Learn More
Climate Tech เทคโนโลยีด้านภูมิอากาศ สู่การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

รับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ด้วย Climate Tech

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในความท้าทายที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อเศรษฐกิจ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก ปัจจุบันจึงมีแนวคิดและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อปัญหานี้ โดย Climate Tech กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง Climate Tech สร้างโอกาสในการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม Climate Tech หรือ Climate Technology คือเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาพลังงานสะอาด สู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน นับเป็นส่วนสำคัญของการแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อม

Learn More
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงาน (คาร์บอนฟุตพรินต์)

คาร์บอนฟุตพรินต์ : ความสำคัญและวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบัน “คาร์บอนฟุตพรินต์” (Carbon Footprint) เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่องค์กรและธุรกิจทั่วโลกใช้ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากรายงานของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 243.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ซึ่ง 71% มาจากภาคพลังงานและการขนส่ง ดังนั้น การเข้าใจความหมาย ประเภท วิธีการคำนวณ และแนวทางการลดคาร์บอนฟุตพรินต์อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้องค์กรของคุณลดการสร้างคาร์บอนฟุตพรินต์ได้อย่างเหมาะสม คาร์บอนฟุตพรินต์คืออะไร ? คาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon

Learn More

Free consultation