fbpx

คาร์บอนเครดิต กุญแจสำคัญสู่ธุรกิจพลังงานสะอาดด้วยโซลาร์เซลล์

นักธุรกิจถือไอคอนจำลองคาร์บอนเครดิต

ท่ามกลางความตื่นตัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงกลายเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรและธุรกิจทั่วโลก ซึ่ง “คาร์บอนเครดิต” เป็นหนึ่งในกลไกที่น่าสนใจเพื่อขับเคลื่อนพลวัตทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้าใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผนวกเข้ากับการติดตั้ง “โซลาร์เซลล์” แหล่งพลังงานสะอาดที่พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

เข้าใจคาร์บอนเครดิตและโอกาสทางธุรกิจ

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ หน่วยวัดการลดหรือการหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอนฟุตพรินต์) ในแต่ละปี โดย 1 คาร์บอนเครดิต เท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน (tCO2e) ซึ่งสามารถทำได้จากหลายมาตรการ เช่น การใช้พลังงานสะอาดจากโซลาร์เซลล์ การปลูกป่า และการลดการปล่อยก๊าซจากภาคอุตสาหกรรม โดยสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ในตลาดคาร์บอน

กลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิต

ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตมี 2 รูปแบบหลัก คือ

  • ตลาดภาคบังคับ (Compliance Market) : เป็นตลาดที่เกิดขึ้นจากข้อบังคับทางกฎหมายที่กำหนดให้องค์กรต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย หากทำไม่ได้ต้องซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชย
  • ตลาดภาคสมัครใจ (Voluntary Market) : เป็นตลาดที่องค์กรเข้าร่วมโดยสมัครใจเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้จะไม่มีข้อบังคับทางกฎหมาย แต่ก็มีแรงกดดันจากผู้บริโภค นักลงทุน และพันธมิตรทางธุรกิจ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แนวโน้มตลาดคาร์บอนในประเทศไทย

ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2065 ส่งผลให้ภาครัฐมีการผลักดันนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน

โอกาสสำหรับภาคธุรกิจ

สำหรับภาคธุรกิจ การใช้พลังงานสะอาด เช่น โซลาร์เซลล์เป็นโอกาสที่ดีในการลดต้นทุนด้านพลังงาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรในด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

หากสงสัยว่าคาร์บอนเครดิตทำยังไง และต้องการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด ธุรกิจสามารถเริ่มต้นได้โดยศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ติดตั้ง เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม และร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานจะมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม

โซลาร์เซลล์ : เพื่อคาร์บอนเครดิตที่มีประสิทธิภาพ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั่วโลกได้หันมาใช้พลังงานสะอาดกันมากขึ้น โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานฟอสซิลได้ ประกอบกับนวัตกรรมการผลิตโซลาร์เซลล์ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด สามารถผลิตไฟฟ้าได้จำนวนที่พอเพียงต่อความต้องการ

ประโยชน์ของการใช้โซลาร์เซลล์ในการลดคาร์บอน

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง : ทุก ๆ หน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • ผลิตพลังงานสะอาดได้อย่างต่อเนื่อง : ระบบโซลาร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ตลอดอายุการใช้งาน 25-30 ปี ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
  • เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล : โซลาร์เซลล์เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้คาร์บอนเครดิตที่เกิดจากโครงการโซลาร์เซลล์ได้รับการยอมรับในตลาดคาร์บอนทั่วโลก

การคำนวณคาร์บอนเครดิตจากระบบโซลาร์เซลล์

การคำนวณคาร์บอนเครดิตจากโซลาร์เซลล์จะพิจารณาจากปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้และปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง โดยทั่วไปจะใช้หน่วย “ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า” (tCO2e) เป็นมาตรฐานในการคำนวณ

ตัวอย่างการคำนวณคาร์บอนเครดิตจากระบบโซลาร์เซลล์ 1 MWp :

  • กำลังการผลิตระบบ : 1 MWp
  • พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อปี : 1.45 GWh/ปี หรือ 1,450,000 kWh/ปี
  • ค่า Emission Factor อยู่ที่ประมาณ 0.5048 kgCO2e/kWh*

GHG emissions = Activity Data x Emission Factor
=1,450,000 kWh x 0.5048 kgCO2e/kWh
=731,960 kgCO2e หรือ 732 tCO2e ต่อปี

ดังนั้น ระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 1 MWp สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 732 ตันต่อปี

*ค่า Emission Factor อาจแตกต่างกันตามปีและแหล่งพลังงานของประเทศไทย ควรอ้างอิงข้อมูลล่าสุดจาก CFO หรือ Thai Carbon Label

ผลตอบแทนจากการลงทุน

การลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิต ให้ผลตอบแทนในหลายด้าน ได้แก่

  • การประหยัดค่าไฟฟ้า : การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ช่วยลดต้นทุนไฟฟ้าสำหรับธุรกิจ
  • การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน : ช่วยให้ภาคเอกชนมีทางเลือกในการใช้พลังงานสะอาด ลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล และช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • การเพิ่มมูลค่าขององค์กร : การใช้พลังงานสะอาดช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรในด้านความยั่งยืน
พนักงานในองค์กรร่วมประชุมเรื่องการขอคาร์บอนเครดิต

ขั้นตอนการขอรับรองคาร์บอนเครดิตจากโซลาร์เซลล์

การขอรับรองคาร์บอนเครดิตจากโซลาร์เซลล์ เป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน โดยมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้

1. การประเมินศักยภาพโครงการ

ศึกษาและวิเคราะห์กำลังการผลิตไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์ โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดพื้นที่ติดตั้ง ปริมาณแสงอาทิตย์ในพื้นที่ และปริมาณการใช้ไฟฟ้าขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. การขึ้นทะเบียนโครงการเพื่อขอ I-REC

ดำเนินการลงทะเบียนโครงการกับหน่วยงานที่รับรอง I-REC โดยต้องจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น รายละเอียดระบบผลิตไฟฟ้า ใบอนุญาตต่าง ๆ และการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

3. การติดตามและรายงานการผลิตไฟฟ้า

ติดตั้งระบบตรวจวัดและบันทึกข้อมูลการผลิตไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน พร้อมจัดทำรายงานการผลิตไฟฟ้าตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอรับรอง I-REC

4. การขอรับรอง I-REC และการนำไปใช้

ยื่นข้อมูลการผลิตไฟฟ้าเพื่อขอรับใบรับรอง I-REC จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นสามารถนำ I-REC ไปใช้แสดงการใช้พลังงานหมุนเวียนขององค์กร หรือจำหน่ายให้แก่องค์กรอื่นที่ต้องการได้

โดย GreenYellow พร้อมช่วยเหลือลูกค้าในการเป็นเจ้าของใบรับรอง I-REC อย่างถูกต้อง เพราะเราคือผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ที่พร้อมให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือในการขอใบรับรองทุกขั้นตอน ตลอดจนกระบวนการโอน-แลก I-REC เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

การเตรียมความพร้อมสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ

องค์กรที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและก้าวสู่แนวทางธุรกิจคาร์บอนต่ำ จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในหลายด้าน เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมีแนวทางดังนี้

1. การประเมินความเหมาะสมขององค์กร

วิเคราะห์ความพร้อมของธุรกิจในการปรับใช้พลังงานสะอาด โดยพิจารณาปัจจัยสำคัญ เช่น ขนาดกิจการ ความต้องการพลังงาน และแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งในปัจจุบันมีมาตรการที่อำนวยความสะดวกให้แก่อุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการที่ต้องการใช้โซลาร์เซลล์ โดยจะมีพาร์ตเนอร์เป็นผู้ลงทุนให้ผ่าน Solar PPA (Power Purchase Agreement) ซึ่งครอบคลุมไปถึงการสำรวจ ออกแบบ ติดตั้ง ขออนุญาต และบำรุงรักษาตลอดอายุสัญญา

2. การกำหนดแนวทางการใช้พลังงานสะอาด

วางแผนกลยุทธ์ในการใช้พลังงานหมุนเวียนให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือการนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้

3. การเลือกพาร์ตเนอร์ที่เหมาะสม

เลือกพาร์ตเนอร์ที่เชี่ยวชาญด้านโซลาร์เซลล์และคาร์บอนเครดิต เช่น GreenYellow เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในกระบวนการขอใบรับรอง I-REC อย่างถูกต้อง

4. การบริหารจัดการระยะยาว

วางแผนติดตามและดูแลระบบพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้การมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์และการบำรุงรักษาระบบทั้งเชิงป้องกันและดูแลในระยะยาว ซึ่งหากมีการทำข้อตกลง Solar PPA พาร์ตเนอร์จะเป็นผู้จัดการให้ทั้งหมด เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาทางเทคนิคและรักษาประสิทธิภาพของระบบให้ยั่งยืน

การลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไม่เพียงช่วยลดค่าไฟฟ้า แต่ยังเป็นแนวทางสำคัญในการใช้พลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมความยั่งยืนให้แก่องค์กร GreenYellow พร้อมเป็นพันธมิตรที่เชี่ยวชาญพร้อมลงทุน ให้คำปรึกษาตั้งแต่การสำรวจ ออกแบบ ขออนุญาต ติดตั้งโซลาร์เซลล์ และดูแลบำรุงรักษา ไปจนถึงการขอรับรองคาร์บอนเครดิต เพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งเพื่อคุณ และเพื่อโลก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

เบอร์โทรศัพท์ 02-079-8081
LINE ID: @greenyellowth
E-mail * gr*********@*********ow.com

ข้อมูลอ้างอิง:

1.ลดโลกร้อนด้วย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2568 จาก https://www.onep.go.th/ลดโลกร้อนด้วย-carbon-neutrality-และ-net-zero-emissions/
2.คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) แนวทางสู่การลดโลกร้อน พร้อมก้าวสู่ความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2568 จาก https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1821
3.ทำความเข้าใจตลาด Carbon Credit การซื้อขาย และตัวอย่างการคำนวณ. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2568 จาก https://www.dittothailand.com/th/dittonews/carbon-credit-market/

ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึงหลักล้านง่ายๆ เพียงติดต่อเราวันนี้ Contact Us

บทความโดย

แชร์บทความนี้
Facebook
Twitter
LinkedIn
X
Pinterest
WhatsApp

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Climate Tech เทคโนโลยีด้านภูมิอากาศ สู่การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

รับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ด้วย Climate Tech

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในความท้าทายที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อเศรษฐกิจ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก ปัจจุบันจึงมีแนวคิดและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อปัญหานี้ โดย Climate Tech กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง Climate Tech สร้างโอกาสในการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม Climate Tech หรือ Climate Technology คือเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาพลังงานสะอาด สู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน นับเป็นส่วนสำคัญของการแก้ไขปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อม

Learn More
ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงาน (คาร์บอนฟุตพรินต์)

คาร์บอนฟุตพรินต์ : ความสำคัญและวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบัน “คาร์บอนฟุตพรินต์” (Carbon Footprint) เป็นตัวชี้วัดสำคัญที่องค์กรและธุรกิจทั่วโลกใช้ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากรายงานของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 243.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ซึ่ง 71% มาจากภาคพลังงานและการขนส่ง ดังนั้น การเข้าใจความหมาย ประเภท วิธีการคำนวณ และแนวทางการลดคาร์บอนฟุตพรินต์อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้องค์กรของคุณลดการสร้างคาร์บอนฟุตพรินต์ได้อย่างเหมาะสม คาร์บอนฟุตพรินต์คืออะไร ? คาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon

Learn More
ฝุ่นบนแผงโซลาร์เซลล์ที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตพลังงาน

ฝุ่นเกาะบนแผงโซลาร์เซลล์ส่งผลอะไร ป้องกันอย่างไรดี ?

‘พลังงานแสงอาทิตย์’ เป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการใช้พลังงานสะอาด แต่ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์สามารถลดลงได้หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้า คือฝุ่นละอองที่เกาะอยู่บนแผงโซลาร์ โดยเฉพาะฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงผลกระทบของฝุ่นบนแผงโซลาร์เซลล์ ตลอดจนวิธีการดูแลให้เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญ ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อโซลาร์เซลล์อย่างไร ? 1. ลดปริมาณแสงที่เข้าสู่แผงโซลาร์เซลล์ ฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถลอยอยู่ในอากาศและสะสมบนพื้นผิวของแผงโซลาร์เซลล์ ก่อให้เกิดเป็นชั้นฝุ่นบาง

Learn More

Free consultation